เว็บแทงหวย

วันสำคัญทางพุทธศาสนา วันเข้าพรรษาคืออะไร กิจกรรมวันเข้าพรรษา 2566

วันเข้าพรรษาคืออะไร กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาแบบนี้ ชาวพุทธทำอะไรกันบ้าง วันเข้าพรรษาปี 2566 นี้ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม 2566 นั่นเอง โดยในประเทศไทยนั้นก็มีการจัดกิจกรรมถวายเทียนพรรษา และงานแห่เทียนพรรษา กันเป็นประจำเช่นทุกปี วันนี้ เที่ยวแปดริ้ว จะพาไปทำความรู้จักกับวันสำคัญทางพรพุทธศานากันให้มากขึ้น ว่ากิจกรรมที่ชาวพุทธสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลนั้น เป็นอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไร

วันเข้าพรรษาคืออะไร ทำไมพระสงฆ์ต้องจำพรรษา

วันเข้าพรรษาคือ

จริงๆ แล้ววันเข้าพรรษานั้น เป็นวันสำคัญที่มีวันต่อเนื่องมาจาก วันอาสาฬหบูชา นั่นเอง การที่พระสงฆ์ต้องอยู่จำพรรษานั้น ก็เป็นพระวินัยบัญญัติไว้ว่าให้ พระสงฆ์ เริ่มพักประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี หรือกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือนตลอดหน้าฝนนั่นเอง

ความเป็นมาของ วันเข้าพรรษา สมัยอดีตกาล

เรื่องเล่าของวันเข้าพรรษานั้น เริ่มมาจากประเทศอินเดีย ในสมัยก่อนที่เพิ่งจะเริ่มเกิดพระพุทธศาสนานั้น ก็ยังมีพระสงฆ์ไม่มากนัก เลยยังไม่มีการตั้งบัญญัติพิธีอะไรไว้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มีพระสงฆ์มากขึ้น เมื่อถึงหน้าฝน ก็มักจะเกิดน้ำท่วมขึ้นบ่อย สมัยนั้นก็มีพระภิกษุ 6 รูป ฉัพพัคคีย์ พากันจาริกไปมา เมื่อถึงบริเวณพื้นที่ที่ชาวบ้านปลูกต้นข้าว หรือพืชพรรณต่างๆ ก็โดนเหยียบย่ำ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อชาวบ้าน ชาวบ้านเลยพากำตำหนิจนเป็นเรื่องราว

เมื่อเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาจนพระพุทธเจ้าได้ทราบ ก็เลยบัญญัติไว้ให้พระภิกษุเป็นธรรมเนียม ว่าให้อยู่จำพรรษาที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลาตลอด 3 เดือนของช่วงฤดูฝน แต่หากมีเหตุจำเป็นก็ให้ทำสัตตาหกรณียะ และต้องกลับมาพักที่เดิมภายใน 7 วันเท่านั้น โดยเหตุจำเป็นนั้นมีดังนี้

วันเข้าพรรษาคือ
  • การไปรักษาภิกษุ บิกา หรือ มารดาที่เจ็บป่วย
  • มีเหตุต้องไปจัดการหากมีภิกษุ สามเณร ต้องการสึก
  • ต้องไปทำกิจธุระของคณะสงฆ์
  • มีการนิมนต์ไปทำบุญ ก็สามารถไปบำเพ็ญกุศลได้

แน่นอนว่าหากต้องกิจธุระของสงฆ์เสร็จแล้วก็ต้องกลับไปจำพรรษาที่เดิม โดยกิจธุระที่ไปมานี้ต้องไม่เกิน 7 วันเท่านั้น โดยจะถือให้ว้าไม่เป็นการขาดพรรษานั่นเอง

วันเข้าพรรษา กิจกรรมประจำปี

ทำบุญตักบาตร

เมื่อถึงวันเข้าพรรษาแล้ว กิจกรรมทั่วไปที่ชาวพุทธมักจะทำกันก็คือ การทำบุญตักบาตร โดยส่วนใหญ่แล้วจะทำบุญกัน 3 วัน คือช่วงวันที่ 14  หรือ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 และยังนำเทียนพรรษาไปถวายที่วัดเพื่อร่วมหล่อเทียนอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปตั้งในอุโบสถเพื่อจุดไว้บูชาพระรัตนตรัยตลอดระยะเวลา 3 เดือนนั่นเอง

วันเข้าพรรษาคือ

แห่เทียนพรรษา

เรียกได้ว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ประจำปีเลยก็ว่าได้ ทุกๆ จังหวัดจะจัดงานประจำจังหวัดขึ้น โดยมีการประโคมเสียงฆ้อง เสียงกลอง ทั้งยังมีการหล่อเทียน แกะลวดลายสวยงามต่างๆ กันอย่างยิ่งใหญ่ โดยประเพณีนี้ถูกสืบทอดกันมายาวนานกว่าร้อยปี

ตักบาตรดอกไม้

เป็นประเพณีของจังหวัดสระบุรี ที่จะถูกจัดขึ้นประจำปีในช่วงเข้าพรรษาที่ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร หรือ วัดพระพุทธบาท สระบุรี โดยจะมีการเก็บดอกเข้าพรรษามาถวายพระสงฆ์ เพื่อนำไปสักการะรอยพระพุทธบาทนั่นเอง นอกจากนั้นชาวบ้านก็จะนำดอกพิกุลมาลอยในขันน้ำ เพื่อล้างเท้าให้แก่พระสงฆ์อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นประเพณีที่งดงามของของสระบุรีเลยทีเดียว

วันสำคัญทางพุทธศาสนา วันดีๆ วันมงคลแบบนี้ อย่าลืมไปทำบุญตักบาตรกันนะคะ เรียกได้ว่าจัดงานอย่างยิ่งใหญ่กันทุกจังหวัด ใครอยากไปเที่ยว ไปชมความงดงาม ประเพณีพื้นบ้านของแต่ละจังหวัดก็เตรียมตัวกันให้พร้อม เพราะนอกจากประเพณีที่กล่าวไปข้างต้น ก็ยังมีอีกหลายประเพณีอย่าง ถวายผ้าอาบนำฝน ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถ รวมถึงการงดเหล้าเข้าพรรษาอีกด้วย